PhillipCapital Your Partner in Investment

poems poems

ศูนย์การเรียนรู้
3 เหตุผลที่ทางการจีนเข้ามาเข้มงวด ในตลาด Technology จีน


3 เหตุผล ที่ทางการจีนเข้ามาเข้มงวด ในตลาด Technology จีน
 

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เรามักจะได้ยินข่าว รัฐบาลจีนออกมาใช้นโยบายควบคุมธุรกิจขนาดใหญ่ในจีนหลายกลุ่มอย่างต่อเนื่อง จนมักเกิดคำถามขึ้นว่า รัฐบาลจีนกำลังดำเนินนโยบายต่อต้านทุนนิยม และ ต้องการให้การธุรกิจหลายๆอย่างกลับไปเป็นของรัฐบาลหรือเปล่า? คำตอบ คือ ไม่ใช่ แต่เป็นเพราะ รัฐบาลจีนต้องการวางพื้นฐานเศรษฐกิจดิจิตอล (Digital economy) ให้สามารถต่อสู้กับนานาประเทศอย่างแข็งแกร่งในระยะยาวมากกว่า โดยต่อไปนี้ คือ 3 เหตุผล ที่ทางการจีนเข้ามาเข้มงวด ในตลาด Technology จีน อย่างต่อเนื่อง
 
1. เพื่อควบคุมปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อาจกลับมารุนแรงอีกครั้ง จึงต้องตัดไฟแต่ต้นลม Ant Finance IPO ก่อนที่จะเป็นจุดกำเนิดของ Credit Crunch ความน่ากลัวของการที่จีนมีบริษัทที่เป็นทั้ง e-commerce ด้วยและผู้ให้บริการชำระเงินด้วยนั่นคือ คนจะกู้ยืมเงินง่ายขึ้น ภายใน 2 ปี หนี้ครัวเรือนต่อ GDP เพิ่มขึ้นมาจาก 50% เป็น 60% ซึ่งรัฐบาลจีนมองว่าความเสี่ยงทางการเงินนั่นไม่ได้จำกัดแค่ภาครัฐ (SOE debt ที่เคยมีปัญหาในช่วงปี 2015) แต่อยู่ในภาคครัวเรือนด้วย หมายความว่าหากเขาปล่อยให้มีการ IPO Ant แล้วค่อยไปออกกฏเรื่องการปล่อยกู้ คนที่จะได้รับผลกระทบจะไม่ใช่แค่บริษัท หรือแจ๊คหม่า แต่เป็นนักลงทุนรายย่อยที่เข้าไปซื้อหุ้นจากการเปลี่ยนกฏนี้ !!!

 
2. เพื่อแก้ปัญหาการผูกขาดทางการค้าของธุรกิจขนาดใหญ่ โดยรัฐบาลจีนกล่าวหาว่า Alibaba ใช้อิทธิพลในการผูกขาด เช่น การบังคับผู้ขาย ให้ขายใน Alibaba ที่ราคาถูกกว่าขายที่ร้าน หรือ บังคับห้ามขายสินค้าแบบเดียวกันให้คู่แข่ง ซึ่งรัฐบาลมองว่าตรงนี้เป็นการเอาเปรียบร้านค้ารายย่อย โดยปรับเงินประมาน 10% ของกำไรใน 1 ปี สิ่งที่รัฐบาลจีนพยายามจะทำคือ การปรับกฏเกณฑ์ต่างๆ ให้ทันเศรษฐกิจดิจิตอล แบบที่สหรัฐก็พยายามที่จะดูแลเรื่องการผูกขาดทางการค้า จากบริษัทใหญ่ ๆ เช่น Facebook
 
 
3. เพื่อปกป้องข้อมูล ดูแล และ พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่คนในชาติ โดยทางการจีนได้สั่งให้ App stores ลบแอพพลิเคชั่น Didi ด้วยประเด็นด้าน cyber security เนื่องจาก Didi เป็นหุ้นที่ลิสต์ในตลาด Nasdaq ของอเมริกา ซึ่งจำเป็นต้องส่งมอบข้อมูลหลายๆอย่างให้ทางการสหรัฐฯตามกฎหมาย ซึ่งทางการจีนมองว่าข้อมูลของ Didi นั้นเป็นข้อมูลที่อาจกระทบต่อความมั่นคงของชาติได้ นอกจากนี้ยังมีเรื่องของ Social equality ซึ่งเกิดจากเมื่อศตวรรษก่อนจีนเปิดให้มีทุนนิยมมากขึ้น ทำให้พวก After School Tutors มีการเติบโตสูง และทำให้ค่าใช้จ่ายในการศึกษาสูงไป รัฐบาลจีนจึงสั่งให้พวก AST เหล่านี้ต้องดำเนินธุรกิจแบบไม่หวังผลกำไร non-profit organization และ ออกกฎใหม่ควบคุมหลายๆอย่างเพื่อดูแลคุณภาพการศึกษาขงเด็กๆในประเทศ
 
 
ในระยะถัดไป การออกมาตรการควบคุมใหม่ๆของรัฐบาลจีน ยังคงเป็นประเด็นที่ต้องติดตาม โดยเรามองว่าในระยะ 3 เดือนถัดจากนี้ นักลงทุนจะยังคงต้องเผชิญกับความผันผวนจากประเด็นดังกล่าว แต่เชื่อตลาดหุ้นจีนน่าจะกลับมา Outperform ได้ในปีหน้า
 
สำหรับนักลงทุนที่ต้องการลงทุนในหุ้นจีน ควรมีระยะเวลาการลงทุนยาวกว่า 2 ปี โดยเราแนะนำกองทุนหุ้นจีนที่บริหารแบบ Active ที่สามารถปรับพอร์ตเพื่อลด หรือ เลี่ยงผลกระทบจากการออกมาตรการควบคุมใหม่ๆจากทางรัฐบาลจีนได้ โดยการเลือกหุ้นโดยผู้จัดการกองทุนจะมีโอกาสทำกำไรเยอะกว่ากองทุนที่เป็นดัชนีอย่างเดียวได้ในระยะยาว
   
บทความโดย นักวิเคราะห์กองทุนรวม บล.ฟิลลิป (ส.ค. 64)