กลยุทธ์การกระจายสินทรัพย์ แบบไหน...ที่ใช่สำหรับคุณ?
การกระจายสินทรัพย์เป็นสิ่งสำคัญเพื่อสร้างความสมดุลให้กับพอร์ตลงทุน ช่วยกระจายความเสี่ยง และเป็นปัจจัยสำคัญที่ผลตอบแทนจะออกมาดี ซึ่งในบางครั้งอาจดีกว่าการซื้อขายหุ้นทีละตัวอีกด้วย การสร้างพอร์ตลงทุนที่ประกอบด้วยหุ้น ตราสารหนี้ เงินสด และอสังหาริมทรัพย์เป็นวิธีการเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลา และการจัดพอร์ตลงทุนจะสะท้อนถึงเป้าหมายในแต่ละช่วงเวลาด้วย
บทความนี้จะสรุปกลยุทธ์การกระจายสินทรัพย์และพื้นฐานแนวคิดในแต่ละแบบ
1. การกระจายสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์
วิธีนี้จะยึดกับพื้นฐานการลงทุน ด้วยการลงทุนผสมระหว่างสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนที่แน่นอน ซึ่งต้องแบกรับความเสี่ยงและลงทุนให้ได้ตามระยะเวลาที่กำหนด โดยสามารถตั้งเป้าหมายการลงทุนพร้อมปรับสัดส่วนของสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายได้ โดยหลักๆ จะมีสัดส่วนการลงทุนที่ 65:25:10 (หุ้น:ตราสารหนี้:เงินสด)
การกระจายสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์นี้จะคล้ายกับแผนการลงทุนแบบเน้นซื้อแล้วถือยาว แต่จะเน้นความหลากหลายในพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยง-เพิ่มผลตอบแทน ยกตัวอย่าง ถ้าหุ้นเคยให้ผลตอบแทนประมาณ 10% ต่อปี และตราสารหนี้อยู่ที่ 5% ต่อปี ส่วนผสมครึ่งหนึ่งของหุ้นและตราสารหนี้ก็จะให้ตอบแทนประมาณ 7.5% ต่อปี โดยข้อดีของการกระจายสินทรัพย์แบบระยะยาวจะช่วยสร้างวินัยในการลงทุน การมีวินัยต่อการลงทุนโดยไม่ต้องไขว้เขวไปกับการสภาพตลาดจะช่วยลดการตัดสินใจพลาดได้ เพราะการลงทุนแบบนี้ไม่ได้เห็นผลในระยะสั้นๆ แม้หุ้นในพอร์ตลงทุนอาจจะมีความผันผวนบ้าง แต่การถือยาวจะช่วยลดความเสี่ยงและทำตามเป้าหมายการลงทุนได้มากขึ้น 2. การกระจายสินทรัพย์เชิงเทคนิค
ในการลงทุนระยะยาว การกระจายสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์อาจจะขาดความยืดหยุ่นไปบ้าง สำหรับนักลงทุนที่มองว่า บางจังหวะสามารถรับผลตอบแทนระยะสั้นได้ถ้าจังหวะเหมาะสม กลยุทธ์การกระจายสินทรัพย์เชิงเทคนิคจะสร้างความยืดหยุ่นในการปรับซื้อขายสินทรัพย์ในพอร์ต เพื่อปรับการลงทุนไปตามสภาพเศรษฐกิจและตลาดในเวลานั้น
การกระจายสินทรัพย์เชิงเทคนิคจัดเป็นกลยุทธ์เชิงรุกอาศัยความมีวินัยในการลงทุน เพราะต้องรู้จังหวะว่าเวลาไหนควรลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนระยะสั้น พร้อมกับปรับลดสัดส่วนที่เน้นลงทุนระยะยาวในพอร์ตลง สัดส่วนการลงทุนจะคล้ายการกระจายสินทรัพย์เชิงกลยุทธ์ คือ 65:25:10 แต่สามารถลดตราสารหนี้ลง 10% เพิ่มรับผลตอบแทนระยะสั้นจากการลงทุนในหุ้น จากนั้นก็ปรับพอร์ตให้ได้สัดส่วนแบบเดิม 3.การกระจายสินทรัพย์แบบไดนามิกปรับเปลี่ยน
อีกหนึ่งกลยุทธ์การกระจายสินทรัพย์เชิงรุกคือแบบปรับเปลี่ยน โดยสัดส่วนของสินทรัพย์จะเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามสภาวะของตลาดและสภาพเศรษฐกิจ กลยุทธ์นี้มีหลักการง่ายๆ คือขายสินทรัพย์ที่มูลค่าตก-ซื้อสินทรัพย์ที่มูลค่าเพิ่ม
ตัวอย่างคือ หากตลาดหุ้นมีแนวโน้มเข้าสู่ช่วงขาลง คุณก็อาจชิงขายหุ้นที่ถือก่อนจะราคาตก เพิ่มสัดส่วนตราสารหนี้ จากนั้นหากเห็นสัญญาณว่าตลาดกำลังจะขึ้นก็ขายตราสารหนี้เพื่อเพิ่มสัดส่วนหุ้น กลยุทธ์นี้ไม่ได้มีสัดส่วนการจัดพอร์ตชัดเจน แต่ส่วนใหญ่สินทรัพย์หลักในพอร์ตจะอยู่ที่ 70% สินทรัพย์รอง 20% และเงินสด 10% การกระจายสินทรัพย์มีทั้งเชิงรักและเชิงรับ ไม่ว่านักลงทุนจะตัดสินใจเลือกกลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่ง หรือเลือกใช้ทั้งหมดตามสถานการณ์ก็ย่อมทำได้ แต่ต้องพิจารณาถึงเป้าหมายการลงทุน อายุ ผลตอบแทนจากตลาด และความเสี่ยงที่รับได้อยู่เสมอ หลักการที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้น นักลงทุนอาจนำมาปรับใช้เพียงบางส่วนก็ได้ แต่สิ่งที่ควรจดจำไว้คือการปรับพอร์ตลงทุนโดยอิงตลาดจะค่อนข้างยาก ใช้ความเชี่ยวชาญสูง โดยเฉพาะการเข้าและออกให้ตรงเวลา ผู้ลงทุนควรวางแผนการกระจายสินทรัพย์ปรับพอร์ตให้ดี เพื่อเลี่ยงข้อผิดพลาดให้ได้มากที่สุด
Credit: THOMAS J. CATALANO: AN experienced wealth advisor who specializes in equity and derivative investing, retirement planning, personal financial management etc.
https://www.investopedia.com/investing/6-asset-allocation-strategies-work/ |